รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวท่องเที่ยว

ข่าวท่องเที่ยว - คณบดี ท่องเที่ยวฯ DPU ส่งกำลังใจ ผปก.พ้นวิกฤติโควิด-19


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา

คณบดีการท่องเที่ยวฯDPUส่งกำลังใจให้ผู้ประกอบการด้านท่องเที่ยวผ่านพ้นวิกฤติโควิด-19มั่นใจหลังวิกฤติโรคระบาดไทยยังเป็นที่สนใจ พร้อมแนะปรับตัวสู่New Normalแต่ยังคงยึดหลัก“เอกลักษณ์ไทย” ชี้ผลวิจัยระบุชัด คือ สาเหตุหลักที่นักท่องเที่ยวกลับมาไทยซ้ำ

ผศ.ดร.มณฑกานติ ชุบชูวงศ์คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) หรือDPUกล่าวต่อสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยว่าวันนี้ สถานการณ์การระบาดใหญ่COVID-19ยังคงอยู่กับประเทศไทยและเราต่างรอคอยว่าเมื่อไหร่จะสิ้นสุดลงโดยส่วนตัวเชื่อว่าการกักตัวในASQแบบมีsocial distanceควรจะได้รับการสนับสนุนให้ทำต่อไปสำหรับเมืองท่องเที่ยวที่เน้นตลาดต่างชาติ เช่น ภูเก็ต กระบี่ เกาะสมุย หลายโรงแรมมีความเหมาะสมด้านสถานที่เช่นมีระเบียงหน้าห้อง ที่นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเล่น และอาบแดดได้ ซึ่งตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวทั้งจากแถบยุโรปรวมถึงประเทศที่มาจากเมืองหนาว ในระหว่างนี้โรงแรมอาจต้องประคองตัวเพื่อให้ผ่านพ้นสภาวะวิกฤตินี้ไปให้ได้ และพิจารณาเรื่องการปรับตัวสำหรับNew Normalรวมไปถึงพัฒนาในเรื่องที่สำคัญเพื่อพร้อมให้บริการ หลังสถานการณ์โควิดสิ้นสุดลง และโดยส่วนตัวเชื่อว่าประเทศไทย ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกปรารถนาจะมาเยือนอีกครั้ง ด้วยประทับใจในความเป็น“คนไทย”ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์และต้นทุนสำคัญของชาติทีเดียว

ผศ.ดร.มณฑกานติกล่าวด้วยว่า จากการศึกษาเรื่องความผูกพันต่อสถานที่(place attachment)ซึ่งมีการศึกษากันมานานกว่า40ปี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นงานวิจัยที่เน้นความผูกพันภายในชุมชน เมือง หรือสถานที่ภายประเทศของตนเอง แต่การศึกษาเรื่องความผูกพันต่อแหล่งท่องเที่ยวที่ไปเยือนชั่วคราว โดย เฉพาะในต่างประเทศพึ่งมีมาราวหนึ่งทศวรรษ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ผู้มาเยือนผูกพันต่อแหล่งท่องเที่ยวของแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกันไป เช่น ความสวยงามของภูมิประเทศ ผู้คน วัฒนธรรม แบบแผนในสังคม ฯลฯ โดยประเด็นหลักในทฤษฎีที่ศึกษาเกี่ยวกับความผูกพันต่อสถานที่(place attachment)มักจะวัดเป็น2ด้าน คือ ด้านกายภาพ และด้านอารมณ์และความรู้สึก ประเด็นเรื่องนี้น่าสนใจ เนื่องจากงานวิจัยหลายชิ้นพบว่าความผูกพันต่อแหล่งท่องเที่ยว แม้มาเพียงชั่วคราว จะส่งผลต่อความต้องการกลับมาเยือนซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านการวางแผนการตลาดของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ และสถานที่ต่างๆ เช่น โรงแรมอย่างไรก็ตามคำถามที่นักวิจัยหลายคนนำมาใช้ในการวัดความผูกพันต่อสถานที่จะเน้นคำถามกว้างๆเกี่ยวกับความผูกพันกับสถานที่ เช่น ฉันชอบมาเยือนที่นี่ ฉันพึงพอใจในสถานที่นี้มากกว่าที่อื่น ที่นี่คือสถานที่ที่ฉันอยากมาเยือนมากที่สุด

คณบดีการท่องเที่ยวและการโรงแรม มธบ.กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ตนเองสนใจในเรื่องนี้ เนื่องจากในอดีตมักได้ยินชาวต่างชาติพูดถึงคนไทยในเรื่องความเป็นมิตร จึงได้ทำวิจัย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยในขั้นต้นใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กับนักท่องเที่ยวจำนวน20คน(ชาวยุโรป13คน อเมริกัน2คน มาเลเซีย2คน ออสเตรเลีย2คน นิวซีแลนด์1คน เป็นนักท่องเที่ยวที่มาซ้ำ15คน และมาครั้งแรก5คน) คนที่เดินทางมาซ้ำ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้เขาอยากกลับมาอีก5อันดับต้น คือ คนไทย(87%)รองลงมา คือ อาหารไทย(73%)สินค้าราคาถูก(60 %)วัฒนธรรม(33%)วิถีชีวิต(13%)ส่วนคนที่มาครั้งแรก5คน กล่าวถึงปัจจัยที่จะทำให้เขาอยากกลับมาอีก คือ คนไทย(80%)รองลงมา คือ อาหารไทย(40%)สินค้าราคาถูก (40%)วัฒนธรรม(20%)การช๊อปปิ้ง(20%)

สำหรับด้านกายภาพ สิ่งทำให้นักท่องเที่ยวที่เคยมาแล้ว รู้สึกผูกพัน คือ เกาะ ชายหาด ภูมิทัศน์ ธรรมชาติ(80%)ภูมิอากาศ แสงแดด(60 %)วัดวาอาราม(13%)และอื่นๆเช่น โรงแรม สนามกอล์ฟ ส่วนนักท่องเที่ยวที่มาครั้งแรก สิ่งที่ทำให้รู้สึกผูกพันและและต้องการกลับมาเยือนอีก คือ เกาะ และ ชายหาด(40%)และ ภูมิอากาศ(40%)จากการสัมภาษณ์จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวผูกพันและต้องการกลับมาเยือนเมืองไทย ในด้านสังคม คือ อัธยาศัยของคนไทย รองลงมาคือ อาหารไทย สินค้าราคาไม่แพง วัฒนธรรมไทย และวิถีชีวิตคนไทย ส่วนด้านกายภาพ ประเด็นสำคัญ คือ เกาะแก่งและชายหาดที่สวยงาม ภูมิทัศน์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติภูมิอากาศ แสงแดด วัดวาอาราม และมีโรงแรมที่ดี

แต่สิ่งที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคือความเป็นมิตรของคนไทยโดยนักท่องเที่ยวกล่าวถึงคนไทยโดยใช้ประโยคที่ว่า‘Thai people are friendly’.(คนไทยเป็นมิตร)‘I like mentality of the Thais’. (ฉันชอบจิตใจของคนไทย)‘Thai people are the best’. (คนไทยดีที่สุด)‘Thai people are kind, sweet and open’.คนไทยใจดี อ่อนหวาน และ เปิดเผย เมื่อถามนักท่องเที่ยวว่าหากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติมีความสวยงามเท่าๆกันกับประเทศอื่นเขาจะเลือกไปที่ไหน พวกเขาตอบว่าจะมาเมืองไทยเพราะคนไทยเป็นมิตรกว่าอย่างไรก็ตามนักท่องเที่ยวที่มาซ้ำบางคน กล่าวว่า‘Thai people are slightly less friendly than before’.(ความเป็นมิตรของคนไทยค่อยๆลดน้อยลงกว่าแต่ก่อน)

ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้นำคำถามเรื่องความผูกพันกับคนท้องถิ่นไปเพิ่มในเครื่องมือวัดความผูกพันต่อสถานที่ที่ใช้อยู่เดิม โดยใช้คำถามว่า‘I have an emotional attachment to the people’.ฉันมีความรู้สึกผูกพันกับผู้คนโดยการแจกแบบสอบถามให้นักท่องเที่ยวจำนวน300คน ในเมืองหัวหินและเมืองพัทยาผลการวิจัยพบว่าคำถามนี้สามารถวัดความผูกพันกับแหล่งท่องเที่ยวที่มาเยือนได้อย่างมีนัยสำคัญ

ทั้งนี้คุณลักษณะของ‘คนไทย’ที่นักท่องเที่ยวกล่าวถึงคือ ความเป็นมิตร ความมีจิตใจดี ความใจดีชอบช่วยเหลือ และมีน้ำใจต่อผู้มาเยือนคนไทย คือ ต้นทุนที่สำคัญของการท่องเที่ยวไทย และเป็นปัจจัยสำคัญมาก ที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาเยือนซ้ำดังนั้น การปลูกผัง ความมีน้ำใจ ชอบช่วยเหลือ และการถ่ายทอดวัฒนธรรมไทยจากคนรุ่นเก่าไปยังเยาวชน เช่น การไหว้ ความอ่อนน้อม การยิ้มแย้ม การใช้คำพูดที่เหมาะสม จึงควรปลูกผัง ตั้งแต่ในระดับครอบครัว โรงเรียน มหาวิทยาลัย เพราะเป็นสิ่งสำคัญมากที่ทำให้ประเทศไทยแตกต่างจากประเทศอื่นๆ และได้รับความชื่นชมจากผู้มาเยือนแน่นอนที่สุดในยุคโลกาภิวัฒน์ ความเจริญทางเทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์(social media)อาจทำให้คนรุ่นใหม่และเยาวชนไทยได้รับอิทธิพลและรับวัฒนธรรมจากประเทศอื่นๆ จึงอาจทำให้วิธีคิด และปฏิบัติแบบไทยเปลี่ยนไป จึงอยากให้เยาวชนศึกษาเรียนรู้และเลือกรับแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ขณะเดียวกันรักษาคุณลักษณะของความเป็นไทยไว้

ผศ.ดร.มณฑกานติกล่าวในตอนท้ายว่า แม้ผลกระทบจากสถานการณ์ระบาดของCOVID-19ส่งผลต่อเศรษฐกิจ การจ้างงาน ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศไทยอย่างมาก แต่เชื่อว่าอีกไม่นานนัก หากสถานการณ์คลี่คลายลง การท่องเที่ยวจะกลับมาได้รับความนิยม และมีบทบาทสำคัญต่อประเทศไทยอย่างแน่นอนอย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องพร้อมปรับวิถีการทำงานสู่ยุคNew Normalโดยอย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวอยากกลับมาประเทศไทยคือ คนไทย รอยยิ้ม การต้อนรับขับสู้อย่างยินดี ให้สมกับเป็นThailand is the land of smilesดังนั้นแม้คนไทยจะผ่านความทุกข์ยากและลำบากในช่วงCOVID-19หากเราพร้อมเปิดรับการท่องเที่ยวได้เมื่อไหร่ ก็จะต้องคงรักษาลักษณะความเป็นไทยนี้ไว้ ขอเป็นกำลังใจให้คนไทยยัง“ยิ้มสู้”ต่อไป


"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
คำค้นแนะนำ
Link
พื้นที่โฆษณา