รอสักครู่...

  • น.
พื้นที่โฆษณา

ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม

ข่าวพลังงาน, สิ่งแวดล้อม - PEA ENCOM ร่วมมือ สภากาชาดไทย ลงนาม MOU ศึกษาและพัฒนาระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ยกระดับสู่ CSV สร้างคุณค่าให้สังคมร่วมกัน


ชอบข่าวนี้?
พื้นที่โฆษณา
นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PEA ENCOM พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการพัฒนาระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) โดยมีนายยอดพจน์ วงศ์รักมิตร ประธานคณะกรรมการธรรมาภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธี ณ ห้องประชุมจุมภฎ 2-3 ชั้น 9 ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชา รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่า การขับเคลื่อนความรับผิดชอบต่อสังคมที่ PEA ENCOM ได้ดำเนินการมาตลอดนั้นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นหลายโครงการ PEA ENCOM จึงมีนโยบายยกระดับโครงการ CSR สู่ CSV หรือ Creating Shared Value ในการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างองค์กร สร้างความร่วมมือและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งตรงกับความต้องการของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ที่ต้องการร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจและภาคสังคมในการอนุรักษ์พลังงานและใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่า จึงมีการติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 44.28 กิโลวัตต์ให้ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี ภายใต้ชื่อ โครงการพัฒนาระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) ในปี 2565 จะเริ่มเข้าติดตั้งอุปกรณ์ได้ เพื่อสร้างประโยชน์ด้านการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นพลังงานสะอาดและยังยืนต่อไป รศ.พญ.ดุจใจ ชัยวานิชศิริ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีพันธกิจในการจัดหาโลหิตบริจาคให้มีปริมาณเพียงพอ มีคุณภาพ ปลอดภัยสูงสุดทั้งผู้ให้และผู้รับ ตามนโยบายหลักว่า “โลหิตทุกยูนิต ต้องได้รับจากการบริจาคโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน” เพื่อนำไปรักษาผู้ป่วยทั่วประเทศ และได้ขยายศักยภาพการจัดหาโลหิตไปยังส่วนภูมิภาค โดยจัดตั้งภาคบริการโลหิตแห่งชาติ 12 แห่ง เป็นศูนย์กลางการให้บริการโลหิตแบบครบวงจร เพื่อรองรับและสนับสนุนครอบคลุมเครือข่ายโรงพยาบาลสาขาบริการโลหิตทั่วประเทศ ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี เปิดดำเนินการเมื่อปีพุทธศักราช 2541 เดิมตั้งอยู่ที่อาคารสโมสรข้าราชการพลเรือน จังหวัดราชบุรี ถนนอรรถกวี อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และได้สร้างอาคารหลังใหม่ ปัจจุบันตั้งอยู่ถนนเลี่ยงเมืองราชบุรี ตำบลพงสวาย อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยดำเนินงานจัดหาโลหิต ตรวจคัดกรองคุณภาพโลหิต เตรียมส่วนประกอบโลหิตที่มีคุณภาพ และจ่ายโลหิตแก่โรงพยาบาลในจังหวัดเครือข่าย 7 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม สมุทรสงครามและสมุทรสาคร เพื่อจัดหาโลหิตสนับสนุนให้แก่โรงพยาบาลในเครือข่าย จำนวน 68 แห่ง ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ป่วยอย่างทันท่วงที อีกทั้ง มีการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีจำนวนมาก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำงาน ทำให้โลหิตมีคุณภาพ ปลอดภัยสูงสุด จึงมีค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคโดยเฉพาะค่าไฟฟ้าสูงมากขึ้น ดังนั้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และสร้างความตระหนักถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างคุ้มค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเกิดความร่วมมือขึ้นระหว่าง ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ กับ บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยได้ดำเนินการจัดตั้ง “ระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop)” ภายในพื้นที่ภาคบริการโลหิตแห่งชาติที่ 4 จังหวัดราชบุรี เป็นพื้นที่นำร่องในการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์และจะปรับใช้กับภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั่วประเทศต่อไป

"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand

เพิ่มเพื่อน
พื้นที่โฆษณา

แสดงความคิดเห็น

พื้นที่โฆษณา
คำค้นแนะนำ
Link
พื้นที่โฆษณา