ข่าวการศึกษา - มบส.เร่งงาน U2T for BCG เพิ่มพื้นที่118 ตำบล 7 จังหวัด

มบส.เร่งขับเคลื่องานU2T for BCGเพิ่มพื้นที่118ตำบล7จังหวัดเน้นการทำงาน“จตุรภาคี”และมั่นใจโครงการนี้ผลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังจากโควิดได้
ผศ.ดร.หนึ่งฤทัยเอกธรรมทัศน์ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา(มบส.)เปิดเผยว่าขณะนี้มบส.กำลังเร่งดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจBCG (U2T for BCG)ซึ่งในปี2565ทางมบส.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)ให้ดูแลพื้นที่ชุมชนและจังหวัดเพิ่มขึ้นจากเดิมดูแลพื้นที่ชุมชน40ตำบล3จังหวัดได้แก่กรุงเทพมหานครสมุทรสาครและสุพรรณบุรีเป็น118ตำบล7จังหวัดได้แก่กรุงเทพมหานครสมุทรสาครสุพรรณบุรีสมุทรสงครามนนทบุรีราชบุรีและนครปฐมโดยได้รับงบประมาณจำนวน53,458,000บาททั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยเศรษฐกิจBCGครั้งใหญ่ในพื้นที่7,435ตำบลครอบคลุม77จังหวัดทั่วประเทศ
ผศ.ดร.หนึ่งฤทัยกล่าวต่อว่าที่ผ่านมาทางมบส.ได้ดำเนินโครงการฯและเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการฯผลปรากฏว่ามีผู้ให้ความสนใจมาสมัครจำนวนมากกว่า1,500คนจากที่ตั้งเป้าไว้จำนวน1,068คนซึ่งภาพรวมถือว่าเกินจำนวนรับและเมื่อมาดูข้อมูลพบว่าบางตำบลก็มีคนสมัครเกินจำนวนขณะที่บางตำบลผู้สมัครก็ยังมาไม่ครบซึ่งมหาวิทยาลัยต้องมาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติและให้ได้จำนวนตามที่ตั้งเป้าไว้ ส่วนการดำเนินงานในปีนี้จะเน้นการทำงานในรูปแบบของ“จตุรภาคี”คือการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ภาคเอกชนและภาคประชาชนโดยมีระยะเวลาดำเนินการ3เดือนคือเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน2565 ดังนั้นการทำงานครั้งนี้ถือเป็นภารกิจเร่งด่วนเราหวังว่าจะเกิดผลทางเศรษฐกิจโดยมหาวิทยาลัยจะต้องเข้าไปช่วยทำให้ตำบลที่รับผิดชอบสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ให้ได้2ผลิตภัณฑ์/ตำบลดังนั้น118ตำบลก็จะต้องมี236ผลิตภัณฑ์ซึ่งทางอว.ก็จะมาช่วยทำe-marketหรือเป็นการต่อยอดการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยอย่างไรก็ตามเมื่อเสร็จสิ้นโครงการผู้เข้าร่วมจะสามารถต่อยอดองค์ความรู้ในเรื่องเศรษฐกิจBCGโดยใช้องค์ความรู้ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเช่นทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ต่อยอดให้แก่พื้นที่ชุมชนเพื่อมีรายได้ในครัวเรือนมากขึ้น
ผู้ช่วยอธิการบดีมบส.กล่าวอีกว่าการที่อว.มอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาดูแลพื้นที่ชุมชนและจังหวัดที่รับผิดชอบมากขึ้นแสดงให้เห็นว่าเราได้รับความไว้วางใจให้ทำงานร่วมกับชุมชนและท้องถิ่นซึ่งก็ตรงกับนโยบายของผศ.ดร.ลินดาเกณฑ์มาอธิการบดีมบส.ที่เน้นย้ำมาตลอดให้มหาวิทยาลัยทำงานร่วมกับชุมชนและทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นดังนั้นมหาวิทยาลัยจะทำงานนี้อย่างเต็มที่โดยจะนำประสบการณ์จากปีที่แล้วที่ได้เรียนรู้ถอดบทเรียนได้ลองผิดลองถูกจนรู้แล้วว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถดำเนินการได้ก็จะนำมาปฎิบัติและมั่นใจว่าเราสามารถทำได้เพราะเมื่อปีที่แล้วเรามีเวลาทำโครงการนี้1ปีและอยู่กับโควิดแถมพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบอย่างสมุทรสาครยังเป็นพื้นที่สีแดงด้วยซึ่งทำให้การทำงานก็ยากไปหมดแต่เราก็สามารถดำเนินงานได้จนประสบความสำเร็จ
“ขณะนี้มหาวิทยาลัยได้เริ่มดำเนินการแบบดาวกระจายคือการเข้าไปพบผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหารือเกี่ยวกับโครงการและยังได้ประชุมร่วมกับผู้อำนวยการเขตประธานแขวงประธานชุมชนและผู้แทนชุมชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร35เขตเพื่อแจ้งให้ทราบถึงโครงการและแนวทางการดำเนินงานแล้วด้วยดิฉันเชื่อว่าโครการนี้เป็นโครงการที่ดีจะสามารถผลิกฟื้นเศรษฐกิจหลังจากโควิดได้เป็นอย่างดีเพราะทำให้ทุกคนมีงานทำมีรายได้ประจำ3เดือนนอกจากนี้ผู้เข้าร่วมโครงการจได้รับการอบรมทักษะในการทำงานทักษะการพัฒนาผลิตภัณฑ์การนำเสนองานการขายของออนไลน์ดังนั้นจบโครงการทุกคนมีอาชีพเสริมแน่นอนสำหรับผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการและผู้ที่พลาดโอกาสขอให้ติดตามข้อมูลข่าวสารจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาอย่างใกล้ชิดเพื่อจะได้รับทราบความเคลื่อนไหวของโครงการและมหาวิทยาลัยยังมีโครงการดีๆที่เปิดรับสมัครให้ทุกคนได้ทำงาน”ผศ.ดร.หนึ่งฤทัยกล่าว.
"ข่าวประชาสัมพันธ์ ทันทุกกระแส" กับ @PRNewsThailand
